เมนู

65 - 67. อรรถกถาอัตถปฏิสัมภิทาธัมมปฏิสัมภิทา
นิรุตติปฏิสัมภิทาปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณุทเทส


ว่าด้วย ปฏิสัมภิทาญาณ4


บัดนี้ เพื่อจะแสดงว่า ปฏิสัมภิทาญาณสำเร็จแก่พระอริยบุคคล
ทั้งปวงได้ด้วยอานุภาพแห่งอริยมรรคเท่านั้น ท่านจึงยกปฏิสัมภิทา-
ญาณ 4 มีอรรถปฏิสัมภิทาญาณ เป็นต้น ขึ้นแสดงอีก. ก็ปฏิสัมภิทา-
ญาณเหล่านี้ เป็นสุทธิกปฏิสัมภิทาญาณทั่วไปแก่พระอริยบุคคลทั้งปวง
แม้ในเมื่อไม่มีการแตกฉานในปฏิสัมภิทาด้วยกัน, แต่ที่ท่านยกขึ้นแสดง
ในภายหลัง พึงทราบว่า เป็นปฏิสัมภิทาญาณอันถึงความแตกฉาน
ของผู้มีปฏิสัมภิทาแตกฉานแล้ว นี้เป็นความต่างกัน ของอรรถวจนะ
ทั้ง 2 แห่งคำเหล่านั้น. หรือญาณที่ท่านแสดงในลำดับมีทุกข์เป็นอารมณ์
และมีนิโรธเป็นอารมณ์ เป็นอรรถปฏิสัมภิทา, ญาณมีสมุทัยเป็น
อารมณ์ และมีมรรคเป็นอารมณ์ เป็นธรรมปฏิสัมภิทา, ญาณในโวหาร
อันแสดงอรรถและธรรมนั้น เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทา, ญาณในญาณ
ทั้ง 3 เหล่านั้น เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทา, เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า
ท่านยกสุทธิกปฏิสัมภิทาญาณขึ้นแสดง เพื่อจะชี้แจงความแปลกกันแห่ง
เนื้อความแม้นั้น. ก็เพราะเหตุนั้นนั่นแลท่านจึงกล่าวให้แปลกกันด้วย
นานัตตศัพท์ในภายหลัง, ในที่นี้จึงไม่กล่าวให้แปลกกันเหมือนอย่างนั้น
ดังนี้.

68. อรรถกถาอินทริยปโรปริยัตตญาณุทเทส


ว่าด้วย อินทริยปโรปริยัตตญาณ


พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ครั้นยกญาณอันทั่วไปแก่พระสาวก
67 ญาณขึ้นแสดงตามลำดับอย่างนี้แล้ว เพื่อจะแสดงญาณอันมีเฉพาะ
พระตถาคตเจ้าเท่านั้นไม่ทั่วไปแก่พระสาวกทั้งหลาย จึงได้ยกอสาธารณ
ญาณ 6 มีอินทริยปโรปริยัตตญาณขึ้นแสดง ณ บัดนี้.
แม้บรรดาอสาธารณญาณทั้ง 6 นั้น พระตถาคตเจ้าทั้งหลาย
เมื่อจะทรงตรวจดูความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีภาชนะเป็นเครื่องรองรับ
พระธรรมเทศนา ก็ย่อมตรวจดูด้วยพุทธจักษุ. อินทริยปโรปริยัตตญาณ
และอาสยานุสยญาณทั้ง 2 นี้เท่านั้น ชื่อว่า พุทธจักษุ. สมจริงดังที่
ท่านกล่าวไว้ว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรวจดูสัตว์โลกด้วย
พุทธจักษุได้ทรงเห็นแล้วแล ซึ่งสัตว์ทั้งหลาย
บางพวกมีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อย บางพวกมีธุลี
คือกิเลสในจักษุมาก บางพวกมีอินทรีย์แก่กล้า
บางพวกมีอินทรีย์อ่อน1
ดังนี้เป็นต้น.
1. วิ.มหา. 4/9.